^กลับสู่ด้านบน
foto1 foto2 foto3 foto4 foto5

รับรองบุตร

 ขั้นตอนการยื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อศาล

                 บุตรที่เกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย บุตรนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ของฝ่ายหญิงแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1546)

ซึ่งทำให้บุตรเป็นบุตรนอกสมรสแม้ในใบสูติบัตรของบุตรระบุว่าชื่อ-สกุล บิดา

ก็ไม่ถือเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใดการที่จะให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบ

ด้วยกฎหมายของบิดามีอยู่ 3 วิธี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547) ได้แก่

 

(1) เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง

(2) เมื่อบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร (ในขณะที่บุตรและมารดาบุตรให้ความยินยอมได้)

 

การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ของบิดาในบางกรณีบิดาและมารดาบุตรไม่ประสงค์ที่จะจดทะเบียนสมรสกัน แต่ประสงค์

ที่จะให้ตนเป็นบิดาของบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายเท่านั้น ทั้งนี้ บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็ก

เป็นบุตรของตนได้ แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้อง

ได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยเด็กและมารดาต้องไปให้ความยินยอม

ต่อหน้านายทะเบียนหากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้เช่น

มารดาถึงแก่ความตาย หรือเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น

อายุยังน้อยเกินไปไม่สามารถเข้าใจได้ การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรจึงต้อง

มีคำพิพากษาของศาล (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1548)

โดยผู้ร้อง (บิดา) เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลหรือมารดายื่นคำฟ้องขอให้บิดารับรองบุตร

ต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

 

เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร

3.1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (บิดา) และมารดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ

3.2 ทะเบียนบ้านผู้ร้อง มารดา และบุตร ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ

3.3 สูติบัตรบุตร ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ

3.4 ใบมรณบัตรมารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต) ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ

3.5 หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ของผู้ร้อง มารดา หรือบุตร (ถ้ามี)

ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ฉบับ

3.6 ใบสำคัญการหย่าของมารดา ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ (กรณีมารดา

เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน)

 

ระยะเวลาดำเนินการ

นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวน

คำร้องไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว

ผู้ร้องจะต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ

ในท้องที่นั้นๆที่อยู่ในเขตอำนาจศาล เพื่อสอบถาม ซักถาม จดแจ้ง

และรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณา

คำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อไปอนึ่ง ในวันนัดไต่สวนคำร้อง

ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์และผู้เยาว์ ต้องมาศาลและนำเอกสารพยาน

หลักฐานต่างๆตามที่ระบุไว้ในบัญชีพยานมาศาลเพื่อทำการไต่สวนคำร้อง

หลังจากนั้น 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งผู้ร้องสามารถขอคัดถ่าย

คำสั่งศาลโดยให้เจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนาและขอออกหนังสือรับรองคดี

ถึงที่สุดเพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปดำเนินการยื่นจดแจ้งต่อนายทะเบียน

เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตรต่อไป














ลิงค์อื่น ๆ